ค.ศ.2050คนครึ่งโลกจะสายตาสั้น
Published by นพรัตน์ ถิ่นพันธุ์ (O.D.) on
ค.ศ.2050คนครึ่งโลกจะสายตาสั้น
ภาวะสายตาสั้นพบได้มากที่สุดในผู้ที่มีความผิดปกติทางสายตา(Refractive errors) ด้วยพฤติกกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปเข้าสู่ยุคดิจิตอล ออกข้างนอกบ้านน้อยลง จดจ่อกับโทรศัพท์มากขึ้นอีกทั้งการแข่งขันของระบบการศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการศึกษาพบว่าในปี ค.ศ.2050 คนกว่าครึ่งโลกโดยเฉพาะชาวเอเชียจะมีภาวะสายตาสั้น ในวันนี้เรามาเข้าใจเรื่องสายตาสั้นให้มากยิ่งขึ้น ไปพร้อมๆกับหมอแว่นกันเถอะ มาเริ่มกันเลย
ยาวไป อยากเลือกอ่าน?
สายตาสั้นคือ
ภาวะสายตาสั้น ภาษาอังกฤษ เรียกว่าMyopia คือความผิดปกติในระบบหักเหแสงและรวมแสงของดวงตา โดยแสงจากวัตถุที่เรามองในระยะไกลจะโฟกัสก่อนถึงจอประสาทตา(Retina) ส่งผลให้เห็นภาพมัว
ระดับของสายตาสั้น
ปกติแล้วสายตาสั้นจะแทนด้วยเครื่องหมายลบ(-) ปริมาณค่าสายตาสั้นบันทึกเป็นสเต็ปละ0.25(เลนส์สายตาบางชนิดละเอียดถึง0.125) และมีหน่วยเป็นไดออปเตอร์(Diopter) เช่น -1.75D อ่านว่า “ลบหนึ่งจุดเจ็ดห้าไดออปเตอร์”
ระดับของสายตาสั้นแบ่งเป็น
ศรีทนได้(เริ่มสั้น) -0.25D ถึง -3.00D
ทักคนผิด(สายตาสั้นระดับกลาง) -3.25D ถึง -5.00D
พบนักทัศมาตรด่วน(สายตาสั้นมาก) มากกว่า -5.25D
สายตาสั้นเกิดจาก
- ดวงตามีความยาวมากกว่าปกติ
- กระจกตาหรือเลนส์ตามีความโค้งมาก
- พันธุกรรม หากครอบครัวมีภาวะสายตาสั้นมากๆอาจตรวจพบภาวะสายตาสั้นในลูกร่วมด้วย
- พฤติกรรมการใช้สายตา โดยเฉพาะการจ้องในระยะใกล้เป็นเวลานานโดยไม่มีการผ่อนคลายสายตาอาจเป็นสาเหตุให้เมื่อละสายตามองไกลมีอาการมัวชั่วขณะเรียกภาวะนี้ว่าสายตาสั้นเทียม(Pseudomyopia)
สายตาสั้น อาการ
- มองไกลมัวต้องใช้วิธีเดินเข้าไปใกล้ๆแทน
- ตาล้า
- หรี่ตาเพื่อให้มองไกลชัดขึ้น
- ขยี้ตาบ่อยๆ
- กระพริบตาบ่อย
วิธีทดสอบสายตาสั้น
ภาพที่มองเห็นชัดอยู่ทุกวันบางคนไม่ทราบเลยว่าตาข้างไหนที่ทำให้เราเห็นชัดเพราะไม่เคยทดสอบปิดตาดูทีละตามาก่อน
ตาคุณแล้วยกมือขึ้นมา
ลองทดสอบสายตาตัวเองดูบ้างว่ายังปกติดีไหมหรือตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นแย่กว่าตาอีกข้างอยู่หรือเปล่า แต่หากต้องการตรวจสายตาอย่างละเอียดโดยนักทัศนมาตรท่านสามารถกดปุ่มด้านล่าง
ฮาวทูแก้ไขสายตาสั้น
- แว่นตาเป็นตัวเลือกที่ง่ายและปลอดภัยที่สุด
- เลนส์สัมผัสหรือคอนแทคเลนส์อาจต้องดูแลเรื่องความสะอาดและระวังอาการตาแห้ง
- การผ่าตัด เช่น เลสิค(LASIK)ในข้อนี้ต้องปรึกษาจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สรุปกันซักนิด
หลังจากอ่านบทความนี้เสร็จแล้วสายตาสั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ลองถามตัวเองว่า
“เราพร้อมรับมือหรือยัง”
กับภาวะสายตาสั้นที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต เมื่อเรารู้จักกับภาวะสายตาสั้นกันอย่างละเอียดแล้วเราควรดูแลสุขภาพตาโดยหมั่นตรวจสายตาอย่างสม่ำเสมอและหากบทความนี้เป็นประโยชน์อย่าลืมแชร์ต่อให้คนใกล้ตัวด้วยนะครับ
You must be logged in to post a comment.