fbpx

[ผู้ปกครองควรอ่าน]ทำไมคอมพิวเตอร์วัดตาถึงไม่เหมาะกับการตรวจ สายตาเด็ก

Published by นพรัตน์ ถิ่นพันธุ์ (O.D.) on

สายตาเด็ก
สายตาเด็ก

ผู้ปกครองท่านใดเคยมีประสบการณ์พาลูกหลานไปร้านแว่นแล้วเกิดความรู้สึก “ไม่มั่นใจ” ในการตรวจวัดสายตาบ้าง ?

วิธีที่ใช้ในการตรวจวัดสายตา หรือเด็กไม่เข้าใจชุดคำถามที่ผู้ตรวจถาม ทั้งสองปัจจัยส่งผลให้ค่าสายตามีความคลาดเคลื่อนได้

ตรวจวัดสายตา

โดยธรรมชาติของเด็กการที่จะให้เด็กนั่งนิ่ง ๆ หลังคอมพิวเตอร์วัดตา คางวาง หน้าผากชิด เหมือนการตรวจวัดแบบผู้ใหญ่นั้นเป็นไปได้ยากมาก อีกทั้งดวงตาเด็กมีกำลังในการเพ่งที่สูงทำให้ค่าสายตาที่วัดได้จากเครื่องออโต้จะมีค่าเป็นลบ (สายตาสั้น) มากกว่าปกติ

ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ด้วยการตรวจสายตาเด็กแบบ Objective Refraction แบบ Retinoscopy

Objective Refraction คืออะไร ?

Objective Refraction เป็นขั้นตอนการตรวจหาค่าสายตา สั้น-ยาว-เอียง โดยไม่ต้องมีการถามตอบ ซึ่งวิธีการตรวจ Objective Refraction ที่เหมาะสำหรับการตรวจตาเด็กโดยเฉพาะได้แก่ การตรวจด้วยเรติโนสโคป (Retinoscopy)

การตรวจด้วยวิธีเรติโนสโคป (Retinoscopy)

เรติโนสโคป

นักทัศนมาตรถูกฝึกมาให้ใช้เรติโนสโคป ( Retinoscope ) โดยส่องกล้องผ่านรูม่านตาเด็ก ขณะที่เด็กกำลังมองไกล ในระยะ 6 เมตรเพื่อให้ระบบโฟกัสคลายตัว และประเมิณค่าสายตาจากแสงที่สะท้อนกลับมา ทำให้ได้ค่าสายตาโดยไม่ต้องมีการถาม-ตอบจากเด็ก ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญเพื่อให้ได้ค่าสายตาที่แม่นยำที่สุด

นอกจากค่าสายตาแล้วต้องรู้อะไรอีกบ้าง ?

ตาเหล่

สิ่งที่ผู้ปกครองควรทราบนอกจากปัญหาสายตา คือ ปัญหากล้ามเนื้อตา เช่น ทดสอบการกรอกตาไปในทิศทางต่าง ๆ การทดสอบหาตาเหล่ ตาเขซ่อนเร้น หรือการวัดขนาดมุมเหล่ซ่อนเร้นด้วยปรึซึมบาร์  เพราะหากตรวจเจอความผิดปกติของกล้ามเนื้อตา จะได้หาแนวทางในการรักษาได้อย่างทันท่วงที

สามารถปรึกษาปัญหาสายตากับนักทัศนมาตร

ผ่านทางไลน์ฟรีเพียงกดปุ่มเพิ่มเพื่อน

ผ่านทาง Line Official Account  เพิ่มเพื่อน