สายตายาวตามอายุ (Presbyopia) คืออะไร
Published by นพรัตน์ ถิ่นพันธุ์ (O.D.) on
ยาวไป อยากเลือกอ่าน?
สายตายาวตามอายุ คืออะไร?
สายตายาวตามอายุ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Presbyopia เป็นความผิดปกติของการมองเห็นในระยะใกล้ เช่น อ่านตัวหนังสือ หรือมองข้อความในโทรศัพท์มือถือไม่ชัดเจน ต้องยืดแขนออกห่างจึงจะมองเห็นชัดขึ้น
สายตายาวตามอายุ อาการ
อาการของผู้ที่มีภาวะสายตายาวตามอายุ คือหากใช้สายตาในระยะใกล้เป็นเวลานานจะมีอาการปวดตาเมื่อยล้าตาได้ง่ายกว่าปกติ ในบางรายอาจปวดรอบกระบอกตาร้าวไปถึงท้ายทอย
สายตายาวตามอายุ สาเหตุ
สายตายาวตามอายุพบเจอในคนที่มีอายุ38ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดจากความสามารถในการเพ่งมองระยะใกล้ (accommodation) ของเลนส์ตาเสื่อมสภาพลง
การแก้ไขปัญหาสายตายาวตามอายุ
การแก้ไขปัญหาสายตายาวที่ง่าย และปลอดภัยที่สุด ได้แก่ แว่นตา เพราะการสวมแว่นตาไม่มีการสัมผัสกับดวงตาโดยตรง ส่วนวิธีอื่น ๆ ได้แก่ คอนแทคเลนส์ และการผ่าตัด ในปัจจุบันมีเลนส์หลายชนิดถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาสายตายาวตามอายุ
โปรเกรสซีฟเลนส์
โปรเกรสซีฟเลนส์ (Progressive lenses) คือเลนส์หลายโฟกัสชนิดไร้รอยต่อ สามารถให้ความคมชัดในทุกระยะการมองโดยไม่ต้องถอดแว่นตาสลับไปมา ป้องกันอาการปวดตาเมื่อยล้าตา
เลนส์สองชั้น
เลนส์สองชั้น (Bi-focal lenses) คือเลนส์แว่นตาที่มีสองกำลังสายตาในหนึ่งเลนส์ ทำให้สามารถมองได้คมชัดทั้งระยะไกล และระยะใกล้
เลนส์ชั้นเดียว
เลนส์ชั้นเดียว (Single lenses) หรือแว่นตาอ่านหนังสือ คือเลนส์ที่มีค่ากำลังสายตาเดียวใช้เฉพาะสำหรับการมองในระยะใกล้เท่านั้น
สรุปกันซักนิด
ปัญหาสายตายาวตามอายุ เป็นความผิดปกติของการมองเห็นที่เกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด หมั่นสังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ หากพบเจอปัญหาสายตาก็ควรเร่งแก้ไขอย่างถูกวิธี ท่านสามารถกดปุ่ม “เพิ่มเพื่อน” เพื่อปรึกษานักทัศนมาตรผ่านทางไลน์ออฟฟิเชี่ยลแอคเคาท์ ฟรี
You must be logged in to post a comment.